การจัดการชั้นเรียน

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่๙

ปัญหาวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการศึกษา
เด็กวัยรุ่นอายุ 16 – 18 ปี ในโรงเรียนแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาไม่รับการศึกษาต่อ ลาออกจากโรงเรียนโดยมีปัจจัยจากปัญหาดังกล่าวคือ เด็กมีการสูบบุรี่ มีคนแย่ๆ ในโรงเรียน เพื่อนมีอิทธิพลในโรงเรียน ทำตามคำชักชวนของเพื่อนๆ เด็กติดยา เด็กมีปัญหาส่วนตัว และเกิดจากแรงจูงใจ ซึ่งเหตุผลเหล่านี้นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียนแต่ก็มีปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อนักเรียนเช่นกันโดยเมื่อเราสรุปปัญหาเหล่านี้แล้วเราสามารถสรุปออกเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ ปัญหาจากครอบครัว และปัญหาทางโรงเรียน เมื่อมีปัญหาเหล่านี้ขึ้นมาแล้วทำให้เด็กวัยรุ่นไม่มีงานทำได้มีศูนย์ช่วยเหลือเด็กวัยรุ่นเหล่านี้ขึ้นมาจัดทำโครงการศึกษาเยาวชนท้องถิ่นขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของเด็กวัยรุ่น เพื่อให้เด็กวัยรุ่นเหล่านี้มีงานทำและมีศูนย์ช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อคอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่เด็กวัยรุ่นเหล่านี้ในทุกๆ เรื่อง
        
การเตรียมตัวออกไปสังเกตการณ์สอน
                ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้องต้น จะเห็นได้ว่าเด็กมีปัญหาแต่ครูกลับไม่สนใจนักเรียนว่าเป็นอย่างไร  เมื่อเด็กมีปัญหาทางออกของเด็กคือการติดยาเสพย์ติด
                สำหรับตัวคนที่เป็นครูควรสอดส่องดูเด็กนักเรียนว่าเขามีพฤติกรรมแปลกๆ หรือปัญหา หากถ้าเด็กมีปัญหาตัวครูผู้สอนควรเข้าไปถามความทุกข์สุขของเด็กบ้าง ไปคุยกันบ้าง  ถามว่าวันนี้เรียนเป็นอย่างหรือไม่เข้าใจตรงไหนบ้าง ถามครูได้ตลอดเวลา
                สำหรับตัวของนักเรียน  เมื่อเราเห็นว่าครูคนไหนที่ดีกับเรา เวลามีปัญหา  เขาก็จะหันหน้าหรือกล้าที่จะมาปรึกษา เพราะครูจะทำตัวให้เหมือนเป็นพี่  หรือ พ่อแม่เรานักเรียน เท่านี้เด็กก็กล้าที่จะปรึกษาเมื่อมีปัญหา           
                ดังนั้นการเป็นครูไม่จำเป็นต้องสอนเท่าแต่เนื้อหาความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เรายังสอนการเป็นคน และสามารถแก้ปัญหาได้ตลอดเวลาเมื่อประสบปัญหา

คุณสมบัติของครูที่ดี 10 ประการ
1. ความมีระเบียบวินัย
                2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม
                3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ
                4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
                5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมี
                6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
                7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
                8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
                9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของ
                10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน
ทำให้เกิดกับนักศึกษาอย่างไร
                นำคุณสมบัติที่ดีของครู 10 ประการ มาปรับใช้กับตัวเรา เมื่อเรามีคุณสมบัติที่ดีของครู ก็สามารถเป็นครูที่ดีได้ และยังทำให้มีลุกศิษย์มากมายเคารพนับถือเราอีกด้วย



กิจกรรมที่๘

สรุปเรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ความหมายวัฒนธรรมองค์การ
     จากความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของ "วัฒนธรรม"  ความหมายว่า  "พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิต สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกันและร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน"
      สรุป  :  วัฒนธรรมองค์กร คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันและยืดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
     ความหมายขององค์การ หมายถึง หน่วยงาน อาจจะเป็นภาครัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศ กลุ่มคนที่มารวมตัวกัน ภายใต้โครงสร้าง โดยมีเป้าหมายบางสิ่งบางอย่าง ที่ต้องการให้บรรลุ
.องค์ประกอบขององค์การ
          2.1 จุดมุ่งหมายของโครงการ หรือวัตถุประสงค์ที่มีการจัดตั้งองค์การและเป็นทิศทางในการทำงาน องค์การอาจจะมีจุดมุ่งหมายได้มากกว่า 1 ข้อ หลัก ๆ มี 3 ข้อ คือ
                 - เพื่อแสวงหากำไร
                 - เพื่อบริการลูกค้า
                 - เพื่อช่วยเหลือสังคม
          2.2 โครงสร้างขององค์การ คือ ระบบให้ความสำคัญของคนที่เข้ามาทำงานร่วมกันในองค์การว่าใครมีความสำคัญใครเป็นหัวหน้า ใครเป็นลูกน้อง ใครเป็นผู้ออกคำสั่ง ใครเป็นผู้รับคำสั่ง โครงสร้างขององค์การจะเป็นตัวที่ทำให้เห็นระบบงานทั้งหมดขององค์การ เริ่มต้นตรงไหน
ส่งต่อไปที่ใคร และสิ้นสุดที่ไหน
โครงสร้างขององค์การอาจจะถูกจัดลำดับโดยใช้ความสำคัญของคนหรือความสำคัญของงานก็ได้
          2.3 บุคลากร บุคคลกับองค์การต้องไปด้วยกัน ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน
          2.4 สภาพแวดล้อม
                  สภาพแวดล้อมภายนอก
                      -สภาพแวดล้อมทั่วไป คือแรงผลักดันที่อยู่ภายนอกองค์การ แต่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานขององค์การ  เช่น อิทธิพลทางการเมือง กฎหมายและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรม
                      -สภาพแวดล้อมที่มีโดยตรงต่อการดำเนินการขององค์การ เช่น ลูกค้าหรืผู้รับบริการ วัตถุดิบ ตลาดแรงงาน
                  สภาพแวดล้อมภายใน หมายถึงทรัพยากร เช่น คน เงิน วัสดุ เทคนิคการจัดการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น
.ลักษณะขององค์การ มี 5 ลักษณะ คือ
             3.1 องค์การเป็นลักษณะของกลุ่มบุคคล ที่มาทำงานร่วมกัน โดยมีความเชื่อว่า คนเพียงคนเดียวไม่สามารถ กระทำสิ่งต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีกลุ่มบุคคลในองค์ก็การก็ย่อมเกิดการขัดแย้งเกิดขึ้น ทั้งในลักษณะที่เป็น Personal conflict และ Technical conflict เพื่อทำให้องค์การเกิดการพัฒนา อาจจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนก็ได้                        3.2 องค์การเป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ คือ คนที่เข้ามาอยู่ร่วมกันต้องมี การกำหนดความสัมพันธ์ของคนและงานต่างๆทที่อยู่ภายในองค์การ
          3.3 องค์การเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารหรือการจัดการ องค์การเป็นขั้นตอนขั้นตอนหนึ่งของการบริหารและการบริหารจัดการก็เป็นส่วนหนึ่งขององค์การเช่นกัน โดยอาจจะเอาหลัก POSDCORB MODEL เข้ามาใช้
                          P Planing
                          O Oganizing
                          S Staffing
                          D Directing
                          CO Co-ordinating
                          R Reporting
                          B Budgeting
          3.4 องค์การเป็นกระบวนการ เมื่อมีการจัดองค์การก็ต้องนำเทคนิคการบริหารจัดการมาใช้  ( การบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ )เป็นขั้นตอน เป็น 4ขั้นตอน คือ                   1.การกำหนดเป้าหมาย ที่ชัดเจนว่าเน้นด้านไหน อย่างไร
                  2.การแบ่งงาน เป็นฝ่ายต่างๆที่ชัดเจน เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดหา
                  3.การจัดบุคคลเข้าทำงาน ให้ตรงกับความรู้และความสามารถของบุคคล
                  4.การสร้างความสัมพันธ์ กำหนดความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของแต่ละตำแหน่ง
          3.5 องค์การเป็นระบบระบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ คือ
                  - ระบบเปิด คือ จะให้ความสนใจสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
                  - ระบบปิด คือ ให้ความสนใจสภาพแวดล้อมภายในองค์การเพียงอย่างเดียว
ประเภทขององค์การ
          4.1 แบ่งตามการจัดระเบียบภายในองค์การ
                  4.1.1 องค์การที่เป็นทางการ ( รูปนัย ) คือ มีการจัดตั้งโดยมี กฎหมายรองรับ มีการกำหนดโครงสร้างที่ชัดเจน มีการกำหนดสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน
 4.1.2 องค์การที่ไม่เป็นทางการ (อรูปนัย) เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นจากความสัมพันธ์ของกลุ่มคนในองค์การ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบมารองรับ
4.2 แบ่งโดยการถือกำเนิด
                  4.2.1 องค์การแบบปฐม คือ เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น ครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล ศาสนา
                  4.2.2 องค์การแบบมัธยม คือ มนุษย์จัดสร้างขึ้น

วัตถุประสงค์ขององค์การ
          5.1 ทางเศรษฐกิจหรือกำไร
          5.2 ทางด้านบริการ
          5.3 ทางด้านสังคม เช่น ทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวัน
6. ความสำคัญขององค์การ
          6.1 ด้านการระดมสรรพกำลัง เป็นแหล่งรวมทรัพยากรทางด้านการบริหาร
          6.2 สร้างความเข้มแข็งหรืออำนาจในการดำเนินกิจกรรม เป็นการสร้างอำนาจในการแข่งขันหรือต่อรองกับหน่วยงานอื่นๆ
          6.3 เป็นหน่วยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เป็นศูนย์กลางการผลิตที่ทันสมัยและประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่ทันสมัยอยู่เสมอ
         6.4 เป็นแหล่งพัฒนาทักษะการทำงาน
7.ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีองค์การและพฤติกรรมองค์การ
        ข้อแตกต่าง ระหว่างทฤษฎีและพฤติกรรม
              1.ทฤษฎีองค์การ คือ การศึกษาองค์การในระดับมหัพภาค หน่วยในการวิเคราะห์ คือ
                          1.หน่วยงานย่อยในองค์การ
                          2.องค์การทั้งองค์การ
              2.พฤติกรรมองค์การ คือ การศึกษาองค์การระดับจุลภาค หน่วยในการวิเคราะห์ คือ
                          1.บุคคล ( ปัจเจกบุคคล )
                          2.กลุ่มในองค์การ
8.ทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาองค์การ
          8.1 ทัศนะเชิงความสมเหตุสมผลตามสถานการณ์ เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้น ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้องค์การมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และรักษาสภานภาพขององค์การไว้ได้
          8.2 ทัศนะของมาร์กซีสม์ เป็นการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์และอำนาจ
          8.3 ทัศนะเชิงเศรษฐศาสตร์ต้นทุนของธุรกิจ เป็นทัศนะที่เน้นทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งพัฒนามาจากแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ 
ทฤษฎีองค์การ
1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม เป็นยุคพื้นฐาน จุดเน้น คือ
          1.ให้ความสำคัญและศึกษาองค์การที่เป็นทางการเท่านั้น
          2.มุ่งค้นหาวิธีการบริหารองค์การว่าทำอย่างไรองค์การจะมีประสิทธิภาพ (การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ )และประสิทธิผลสูงสุด ( ได้ผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ )
          3.มองพนักงานเปรียบเสมือนเครื่องจักรและเชื่อว่าปัจจัยที่จูงใจคนได้ คือ ปัจจัยทางเศรษฐทรัพย์หรือเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แนวคิดของผู้รู้หลายท่านดังนี้
          1. แนวคิดของเฟรดริก ดับบลิว เทย์เลอร์ วิศวกรชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่ใช้แนวความคิดทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้กับการบริหาร เป็นคนแรก แนวความคิดที่สำคัญ คือ แนวความคิดที่ว่า หนทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน (one best way)นอกเหนือจากนี้
เทย์เลอร์ยังเป็นคนแรกที่จ่ายค่าจ้างเป็นรายชิ้น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนทำงาน

          2. แนวคิดของอองรี ฟาโยล วิศวกรชาวฝรั่งเศส เป็นเจ้าของแนวความคิดของการบริหารงานตามหน้าที่ โดยกระบวนการจัดการ 5 อย่าง หรือ POCCC
                   P Planing
                   O Organizing
                   C Commanding
                   C Coordinating
                   C Controlling
          3. แนวคิดของไลน์ดาล เออวิคและลูเธอร์ กูลิค POSDCORB MODEL ซึ่งจะครอบคลุมทุกพื้นที่ในการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล การรายงานผล
          4. แนวความคิดของแมกซ์ เวเบอร์ เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันนี ซึ่งมีแนวความคิดว่า การที่การบริหารงานจะมีประสิทธิภาพขึ้นมาได้ จะต้องมีการจัดองค์การในลักษณะขององค์การแบบระบบราชการ ซึ่งไม่ได้หมายถึงองค์การภาครัฐอย่างอย่างเดียวแต่รวมถึงเอกชนด้วย แต่ต้อง มีลักษณะเฉพาะ ครบทั้ง 7 ข้อ คือ
                    1.ลำดับชั้นของการบังคับบัญชา ต้องกำหนดให้ชัดเจน จากสูงไปหาต่ำ หรือมใครเป็นหัวหน้าใครเป็นลูกน้อง
                    2.ความรับผิดชอบ เมื่อมีหน้าที่ก็ต้องมีความรับผิดชอบ ต้องมีการแบ่งความรับผิดชอบที่ชัดเจน
                    3.ความสมเหตุสมผล เป็นการกำหนดกฎ ระเบียบในการปฏิบัติงาน เช่น การเข้า การออก การหยุด
                    4.การมุ่งสู่ผลสำเร็จ คือ มีเป้าหมาย
                    5.เน้นการชำนาญเฉพาะด้าน
                    6.ระเบียบวินัย เป็นการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การ
                    7.ความเป็นวิชาชีพ คือสามารถยึดเป็นอาชีพได้ตลอดชีวิต
2.ทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิมใหม่ มีฐานความคิดแบบดั้งเดิม แต่มีสิ่งใหม่ๆเพิ่มเข้ามา คือ
          1.ให้ความสำคัญกับองค์การที่ไม่เป็นทางการ เพิ่มขึ้น เช่น ชมรม สมาคม
          2. เชื่อว่าในการจูงใจให้คนทำงานนั้น มีปัจจัยด้านอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเพียงอย่างเดียว เช่น ด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา
     มีแนวคิดของผู้รู้ที่สำคัญดังนี้
          1. แนวคิดของเอลตัน เมโย บิดาแห่งการบริหารงานแบบมนุษยสัมพันธ์ เมโยพยายามทดลองว่าปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้คนทำงานอย่างเต็มที่ และบอกว่ามนุษยสัมพันธ์มีส่วนในการที่จะทำให้คนทำงานมากหรือน้อย เป็นตัวกำหนดมาตรฐานในการทำงาน
          2.แนวคิดของอับราฮัม มาสโลว์ นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นของ
ความต้องการของคน
5 ลำดับขั้น เช่น ความต้องการพื้นฐาน
                  1.ความต้องการทางกายภาพ
                  2.ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
                  3.ความต้องการทางสังคม การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
                  4.ความต้องการการยกย่อง
                  5.ความต้องการประจักษ์ในคุณค่าของตนเอง ว่าเกิดมาต้องการเป็นอะไร
            3.แนวคิดของดักลาส แมคเกรเกอร์ ทฤษฎี X และ Y มองว่าคนต่างกัน X มองคนในแง่ร้าย มองว่าคนขี้เกียจ คนเกียจคร้าน ชอบหลบหนีงานเมื่อมีโอกาส ส่วน Y มองคนในด้านดี ชอบที่จะทำงานโดยธรรมชาติ แต่ผู้บริหารต้องปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสม กับการทำงาน การบริหารงานตามแนวความคิดนี้ ขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่ามองคนในด้านไหน เพื่อความสอดคล้องของการบริหาร เช่น หากผู้บริหารมองคนในด้าน X ก็จะบริหารงานแบบเผด็จการ ควบคุมอย่างใกล้ชิด ลงโทษอย่างรุนแรง
 

กิจกรรมที่๗

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่๖

สรุปบทความและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
  สรุป
         รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา หน้า ๓๑๑๓๑๗
         วิชาชีพทุกวิชาชีพ ต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพ ในการการวัดและประเมินผลตามมาตรฐาน ด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์
          สำหรับวิชาชีพทางการศึกษา คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีสมาคมวิชาชีพด้านการศึกษาดูแลเรื่องมาตรฐานการอาชีพของครู ส่วนมาตรฐานวิชาชีพการศึกษาของประเทศไทย ก็ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยคุรุสภา ซึ่งการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวได้ผ่านการศึกษาค้นคว้าทั้งในรูปของการวิจัย และใช้ประโยชน์ผลการวิจัย การศึกษาเอกสารการประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และอื่นๆ เพื่อประมวลข้อมูลมากำหนดเป็น มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
          มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมาย เพื่อให้หลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด (CIPD-Professional Standard: available at, file://G:\ProfStand11.html) โดยความหมายดังกล่าว วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
          ความหมายของคำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มีความหมายที่เป็นอาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับอาชีพชั้นสูงอื่นๆ เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ทนายความ พยาบาล และอื่นๆ แต่ที่มีความต่างที่สำคัญก็เพราะมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา :สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔)  
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
        มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
        มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
พื้นฐานและแนวคิด
          โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ มิใช่มีไว้เพื่อมุ่งในการควบคุมหรือกำกับผู้ประกอบวิชาชีเท่านั้น หากแต่ยังมีพื้นฐานของความคิดความเชื่ออีกบางประการคือ
- เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
- เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
- เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็น
         มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น ยังเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
- สร้างพลเมืองดีของประเทศ - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
- สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน
การนำไปประยุกต์ใช้
          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ เช่น การสร้างหน่วยงานเป็นลักษณะคลีนิคที่ให้บริการที่หลากหลาย มีการตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาสาขาวิชาต่างๆนอกสถาบันทั่วประเทศ เพื่อให้บริการเชิงของการเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสำนักระเมินคุณภาพได้ประเมินให้เป็นสถาบันที่ได้รับการยกย่องเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงกล่าวได้ว่าการประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย
 การแสดงความคิดเห็น / การนำไปใช้ในชีวิต
การแสดงความคิดเห็น
๑.       การที่เรามีกรอบมาตรฐานวิชาชีพ เราสามารถรู้ว่าในการเป็นครูต้องมีความรู้ด้านไหนบ้างในการประกอบอาชีพครู
๒.     มีการวัดผลประเมินผลทุกระยะ ทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียน
๓.     การมีมีมาตรฐานวิชาชีพ ตัวผู้สอนได้รู้ว่าต้องสอนอย่างไรจึงจะเข้าเกณฑ์การประเมินผลที่ถูกต้อง
๔.     การที่เรามาตรฐานของวิชาชีพ จะส่งผลให้ประเทศของเราเจริญ
การนำไปใช้ในชีวิต
๑.       เพื่อนำไปใช้ในการเขียนแผนการสอน เพราะว่าเราจะได้รู้ว่าต้องสอนแบบไหน สอนอย่างไรจะได้เข้ากับมาตรฐานการศึกษา
๒.     เพื่อจะได้เตรียมตัวในการออกฝึกประสบการณ์
๓.     เพื่อนำความรู้ในกรอบมาตรฐานนี้ไปใช้ในการสร้างสื่อ เช่น การสร้างสื่ออย่างไรให้เข้ากับมาตรฐานการศึกษา
๔.     เพื่อนำมาพัฒนาความรู้ของเราให้เพิ่มพูน

กิจกรรมที่๕

สรุปบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ และสิ่งที่ได้คืออะไร นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
      คำว่า ต้นแบบในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ ครูต้นแบบต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ 
     “ต้นแบบ  พระมหากษัตริย์ของเรามี ต้นแบบ ที่ทรงคุณมหาศาลที่หล่อหลอมพระองค์ท่านให้เป็นกษัตริย์ที่สถิตย์ในดวงใจของปวงชนชาวไทย นั่นคือ  สมเด็จย่า แม้ว่าสมเด็จย่า จะจากพวกเราไป แต่พระองค์ฝากสิ่งที่สำคัญยิ่งไว้ให้ชาวโลกแล้ว วิทยากรที่กล่าวถึงคือ พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
           
นัยแรก คือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
           
นัยที่สอง คือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล            การศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้ การศึกษาเป็นระบบกัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดี เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไป ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด” 
จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุข ต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ ฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชน แก่ประเทศชาติจากที่ไหน

สิ่งที่ได้และนำไปพัฒนาตนเอง
    - ได้รู้ว่าการเป็นแบบอย่างที่ดีต้องทำอย่างไร
     - นำแบบอย่างในการทำงนว่าอ
     - ต้นแบบของการพูดไปใช้ เวลาจะพูดกับใครพูดอย่างสุภาพ อ่อนน้อม ต่อผู้อาวุโสกว่า
     - ต้นแบบของการเรียนในการใฝ่เรียนใฝ่เรียนรู้ ในการศึกษา
     - ต้นแบบในการสอนให้รู้ ให้รู้จักทำงาน รู้จักเห็น
ย่าคิดเรื่องความเหน็ดเหนื่อยก่อนการทำงาน

กิจกรรมที่๔

สรุปบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
   ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง    ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
                                                         ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้
ชีวิตของคนเราทุกคนย่อมหลีกเลี่ยงกับการเปลี่ยวแปลงไม่ได้เลย และไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน  ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"    การเปลี่ยนแปลงนี้ หากจะมองในระดับบุคคลคงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดจะสำคัญและยิ่งใหญ่ไปกว่าการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติการรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ  เราจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กร เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงสร้างองค์กรที่แบนราบไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น เป็นการบริหารงานโดยผ่านกระบวนการที่อาศัยการทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม แทนการบริหารงานแบบดั้งเดิมที่เน้นการดำเนินงานตามสายงาน เป็นหลัก ทำอย่างไรผู้บริหารถึงจะเข้าใจว่าระบบขององค์กรโดยแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มีชีวิต เป็นระบบที่เปิด ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เป็นระบบที่จริงๆแล้วไม่อาจเขียนแทนได้ด้วยผังการไหลของงาน  หรือถ่ายทอดทุกอย่างผ่านคู่มือการดำเนินงาน  หากแต่ว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่มิอาจถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารได้ทั้งหมด